ประวัติความเป็นมา

“โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท”

                            เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับทบวงมหาวิทยาลัย จัดทำ “โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท” เพื่อแก้ไขปัญหาความขาดแคลนแพทย์และการกระจายแพทย์ที่ไม่เหมาะสมในชนบท ซึ่งมีหลักการสำคัญคือ ทบวงมหาวิทยาลัยโดยคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในสังกัด รับผิดชอบจัดทำหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ประสาทปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตและรับผิดชอบจัดการเรียนการสอนในชั้นปีที่ 1-3 ของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ส่วนกระทรวงสาธารณสุข โดยศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รับผิดชอบจัดการเรียนการสอนในชั้นปีที่ 4-6 โดยเริ่มรับนักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2538 เป็นต้นไป

         การดำเนินการจัดตั้งสำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท  ในระยะเริ่มดำเนินการ  กระทรวงสาธารณสุขได้จัดตั้งสำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท  โดยมีฐานะเป็นฝ่ายในส่วนแผนงานของสถาบันพระบรมราชชนก  สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข  ต่อมาในปี พ.ศ.2540  กระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาเห็นว่าโครงการนี้เป็นโครงการสำคัญที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลจึงได้แยกหน่วยงานนี้ออกจากสถาบันพระบรมราชชนกตามคำสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ 1222/2540 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2540  และจัดตั้งเป็นหน่วยงานมีฐานะเทียบเท่ากองในสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก  โรงพยาบาลพุทธโสธร  เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปีพ.ศ.2551 แล้วเสร็จปี
พ.ศ. 2554  งบประมาณการก่อสร้าง 147 ล้านบาท
history

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลพุทธโสธร ปี 2550

  • วันที่ 18 มิถุนายน 2550  กระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนามความร่วมมือผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท
    โดยปัจจุบันรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว และนนทบุรี

 

  • คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 652/2550 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2550 เรื่อง จัดตั้งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธโสธร ดังนี้ ให้จัดตั้ง “ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก” โดยใช้ชื่อย่อว่า “ศพค” เป็นหน่วยงานภายในของโรงพยาบาลพุทธโสธรศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก มีฐานะเป็นฝ่ายหนึ่งของโรงพยาบาลพุทธโสธร และมีผู้อำนวยการศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ  โดยอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธโสธร ให้ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก มีหน้าที่จัดการเรียนการสอนชั้นคลินิกให้กับนักศึกษาแพทย์ในโครงการร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัยที่ร่วมผลิต

20150911-184137

 

งานภายในศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธโสธร ดังนี้

  1. งานบริหารงาน
  2. งานบริการการศึกษา
  3. งานวิชาการ
  4. งานกิจกรรมนักศึกษา
  5. งานพัฒนาเทคโนโลยี / งานประกันคุณภาพการศึกษา
  6. งานวิจัย
  7. งานเทคโนโลยีและสื่อการเรียนการสอน (IT)

                ให้สำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  ให้การสนับสนุน  ด้านทรัพยากร วิชาการ กำลังคน และงบประมาณ เพื่อให้ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ